กลุ่มผู้ป่วยสำหรับการฟื้นฟูทางด้านกิจกรรมบำบัดได้แก่
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม หลงลืม อัลไซด์เมอร์
- ผู้ที่มีภาวะอัมพาตจากพยาธิสภาพของสมอง ไขสันหลัง
- ผู้สูญเสียอวัยวะ ทั้งสูญเสียอวัยวะแต่กำเนิด และสูญเสียในภายหลังจากโรคหรืออุบัติเหตุ
- ผู้ที่มีความบกพร่องด้านการรับรู้และความคิดความเข้าใจ
- ผู้ทีมีปัญหาด้านกระดูกและข้อ
ห้องฝึกและเครื่องมือทางกิจกรรมบำบัด
- ห้องฝึกทักษะการทำงานของมือ (Hand function training) การออกแบบ ดัดแปลงและจัดทำอุปกรณ์ประคอง และอุปกรณ์ดาม (Splints and /or fabrication) มีอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการฝึกตามขั้นตอนการทำงานของแขนและมือ คือ การเอื้อม การหยิบจับวัตถุ การเคลื่อนย้ายวัตถุ และการปล่อย
- ห้องฝึกความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ(Cognitive function training) เป็นการส่งเสริมการรับรู้ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และกลุ่มโรคสมองเสื่อม เช่นความจำ การคิดเป็นเหตุเป็นผล การรับรู้วันเวลาสถานที่ การคิดคำนวณ
- ห้องฝึกการกระตุ้นการเคี้ยวและการกลืน (Feeding & swallowing techniques training) สำหรับผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สูญเสียความสามารถในการกลืน สามารถกลับมาเคี้ยวและกลืนได้เอง
- ห้องฝึกทักษะการดูแลตนเองและกิจวัตรประจำวัน (Activities of daily living training) เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามาถช่วยเหลือตัวเองได้ในกิจกรรมแต่ละวัน เช่น การทานอาหาร การเคลื่อนย้าย กาแต่งตัว การเข้าห้องน้ำ
- ห้องสันทนาการบำบัด (Entertainment rehabilitation room) โดยใช้เกมต่างๆ เป็นสื่อในการฟื้นฟู ไม่เพียงให้ความสนุกสนาน รื่นเริงกับผู้ป่วยและผู้สูงอายุเท่านั้น เช่น การเล่นเกมส์ wii , การดูหนัง ร้องเพลง
- ห้องฝึกงานศิลปะบำบัด (Hand craft room) กิจกรรมที่ใช้งานศิลปะเป็นสื่อในการฟื้นฟู การทำงานของมือ การฝึกการรับรู้ การเรียนรู้ขั้นตอนของงาน การถ่ายทอดอารมณ์ ลดความเครียด เช่น การวาดภาพ ประดิษฐ์ดอกไม้ต่างๆ
รวมทั้งกิจกรรมบำบัดที่ศูนย์ฟื้นฟูกล้วยน้ำไท2นี้ยังมีบริการการออกแบบดัดแปลงและจัดทำอุปกรณ์เครื่องช่วยในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Assistive & Adaptive devices design and / or fabrication)แนะนำการออกแบบ ดัดแปลงและปรับปรุงสภาพบ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน (Home – school –workplace modification – adaptation ) แก่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุอีกด้วย