เมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล บางรายมีความจำเป็นต้องให้อาหารทางสายยางโดยญาติหรือผู้ดูแล จะเป็นผู้จัดเตรียมและทำให้ในขณะที่อยู่ที่บ้าน วันนี้ admin จึงขอให้ข้อมูลและมาทำความรู้กับการให้อาหารทางสายยาง เพื่อเป็นประโยชน์กับการดูแลผู้ป่วยกันค่ะ
การให้อาหารทางสายยาง จะให้เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองทางปากได้ แต่ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารยังสามารถทำงานได้ โดยอาจจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ผู่ป่วยอ่อนเพลีย ผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร ผู่ป่วยมีปัญหาเรื่องการกลืน โดยผู้ดูแลหรือญาติ จะต้องเรียนรู้วิธีการจัดเตรียมและให้อาหารทางสายยางเพื่อการได้รับอาหารที่ถูกต้องและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะให้อาหารด้วย
อุกปรณ์ที่ใช้ในการให้อาหารทางสายยาง คือ
1. อาหารเหลว หรือ อาหารสำเร็จรูป (ตามคำสั่งของแพทย์)
2. กระบอกให้อาหารทางสายยาง
3. สำลี แอลกอฮอล์
4. สบู่ล้างมือ หรือ แอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ
การให้อาหารทางสายยางจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามตำแหน่งที่เข้าสู่ร่างกาย คือ
1. ใส่สายยางทางจมูก
2. ใส่สายยางทางหน้าท้อง
วิธีการให้อาหารทางสายยาง
1.เตรียมของเครื่องใช้ในการให้อาหารทางสายยาง อาหารเหลวและยาที่เตรียมให้ผู้ป่วย (ตามวิธีการเตรียมของเครื่องใช้ผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง)
2.จัดท่านอนให้ผู้ป่วยศีรษะอยู่สูงอย่างน้อย 45 องศา ในรายที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวควรให้หนุนหมอน ตั้งแต่หลังจนถึงศีรษะโดยใช้หมอน 2 ใบใหญ่หรือจัดให้ผู้ป่วยนั่งพิงพนักเตียงหรือให้นั่งเก้าอี้
3. จัดสิ่งแวดล้อมรอบๆผู้ป่วยให้สะอาดและ ผู้ที่จะให้อาหารต้องล้างมือให้สะอาดตามวิธีการล้างมือที่ถูกวิธี
4.ในผู้ป่วยที่เจาะคอมีท่อหายใจ ให้ดูดเสมหะในหลอดลมคอก่อน ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปอดอักเสบจากการสำลักอาหารและ ล้างมืออย่างถูกวิธีภายหลังดูดเสมหะให้ผู้ป่วย
5.ดึงจุกที่ปิดหัวต่อปลายสายให้อาหารออก ขณะเดียวกันใช้นิ้ว พับสายคีบเอาไว้ เพื่อป้องกันลมเข้ากระเพาะอาหารผู้ป่วย เพราะจะทำให้ผู้ป่วยท้องอืดได้
6. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก เช็ดบริเวณจุกให้อาหารทางสายยาง เอากระบอกให้อาหาร พร้อมลูกสูบต่อกับหัวต่อและปล่อยนิ้วที่คีบสายออก ทำการทดสอบดูว่า ปลายสายยางให้อาหาร ยังอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่โดย
-ใช้กระบอกให้อาหารดูดอาหารหรือน้ำออกจากพระเพาะ ถ้ามีมากเกิด 50 ซีซี ให้ดันอาหาร น้ำกลับคืนไปอย่างช้าๆ และเลื่อนเวลาออกไปครั้งละ 1 ชั่วโมง แล้วมาทดสอบดูใหม่ ถ้ามีไม่เกิน 50 ซีซี ให้ดันอาหารน้ำกลับคืนไปอย่างช้าๆ และให้อาหารได้
-ถ้าดูดออกมาแล้ว ไม่มีอาหารตามขึ้นมาเลย ให้ดูดลมเข้ามาในกระบอกอาหาร ประมาณ 20 ซีซี
แล้วต่อเข้ากับสายให้อาหาร พร้อมกับเอาฝ่ามืออีกด้านหนึ่ง หรือหูแนบเข้ากับใต้ชายโครงด้านซ้าย ดันลมในกระบอกให้เข้าไปในกระเพาะอาหารอย่างช้า ถ้าสายอยู่ในกระเพาะอาหาร จะรู้สึก หรือได้ยินเสียงลมเข้าไปในกระเพาะอาหาร จากนั้นให้ดูดลมออก
-ถ้าดูดออกมาแล้วได้ของเหลวสีน้ำตาลเข้ม ๆ ควรปรึกษาพยาบาลเยี่ยมบ้าน เพราะผู้ป่วยอาจมีปัญหาแผลในกระเพาะอาหารได้ ควรติดต่อโรงพยาบาลเพื่อรับคำปรึกษาเนวทางการดูแลต่อ
7.พับสายยางปลดกระบอกให้อาหารออกเอาลูกสูบออกจากกระบอกแล้วต่อกระบอกเข้ากับสายให้อาหารใหม่
8.เทอาหารใส่กระบอกครั้งละประมาณ 50 ซีซี ยกกระบอกให้สูงกว่าผู้ป่วยประมาณ 1 ฟุต ปล่อยให้อาหารไหลตามสายช้าๆ อย่าให้อาหารไหลเร็ว ถ้าเร็วมากต้องลดกระบอกให้ต่ำลง เพราะการให้อาหารเร็วมากเกินไป จะทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเดิน
9.เติมอาหารใส่กระบอกเพิ่มอย่าให้อาหารในกระบอกลดระดับลงจนมีอากาศในสาย เพราะอากาศจะทำให้ผู้ป่วยท้องอืดได้
10.เมื่ออาหารกระบอกสุดท้ายเกือบหมดให้เติมน้ำและยาหลังอาหารที่เตรียมไว้ เติมน้ำ ตามอีกครั้ง จนยาไม่ติดอยู่ในสายยาง และไม่ควรมีน้ำเหลือค้างอยู่ในสาย
11.พับสาย ปลดกระบอกให้อาหารออก เช็ดหัวต่อด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกปิดจุกหัวต่อให้เรียบร้อย
12.ให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูงหรือนั่งพักหลังให้อาหารต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง